บริการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก



โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER)

T-VER คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต ซึ่งภายใต้โครงการ T-VER นี้เรียกว่า TVER ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศได้

ขั้นตอน T-vet

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บริการ


  • ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
  • เพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก จากการปลูกต้นไม้ อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า
  • สามารถนำปริมาณคาร์บอนเครดิตไปใช้ในการรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรได้
  • สามารถนำปริมาณคาร์บอนเครดิตไปใช้ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ผลิตภัณฑ์ งานอีเว้นท์ และบุคคลได้
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร



ขอบข่ายของ T-VER ที่เรารับรอง


Sector 1: อุตสาหกรรมด้านพลังงาน                (Energy industries)

Sector 2 : การส่งจ่ายพลังงาน                         (Energy distribution)

Sector 3 : ความต้องการการใช้พลังงาน         (Energy demand)

Sector 7 : การขนส่ง                                          (Transport)

Sector 13 : การจัดการและกำจัดของเสีย        (Waste handling and disposal)

Sector 14 : การปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า           (Afforestation and reforestation)

Sector 15 : การเกษตร                                      (Agriculture)

รายชื่อ คุณวุฒิ ประสบการณ์ และ ขอบข่ายความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่

(List of relevant personnel providing name, qualification, experience and responsibility)

กลุ่มโครงการทั่วไป (การจัดการพลังงาน ของเสีย และ การขนส่ง)

กลุ่มโครงการทั่วไป (การจัดการพลังงาน ของเสีย และ การขนส่ง)
1. นายชาญ ตั้งกาญจนาเวฬุกุล
  • ผจก.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และ ผู้ช่วยผู้บริหาร
  • ผู้พัฒนาโครงการ "การผลิตสารปรับปรุงดินจากมูลฝอยชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร โดยบริษัท สมุทรสาคร เนเชอรัลคลีน เอนเนอร์จี จำกัด"
  • ผู้พัฒนาโครงการ และ ร่างแผนงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ บริษัท PG&C

ผ่านการอบรมหลักสูตร

  • การตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตราฐานประเทศไทย สำหรับโครงการทั่วไป
  • การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
  • การทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
  • แนวทางการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์
  • หลักการประเมินวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์

ขอบข่ายที่ทำการทวนสอบ

  • อุตสาหกรรมด้านพลังงาน (Energy industries)
  • การส่งจ่ายพลังงาน (Energy distribution)
  • ความต้องการการใช้พลังงาน (Energy demand)
  • การขนส่ง (Transport)
  • การจัดการและกาจัดของเสีย (Waste handling and disposal)
2. นายธนวิชญ์ ดุจสราญวรรณ
  • ผจก.ผ่ายโลจิสติก บริษัท EEG และ วิศวกรสิ่งแวดล้อม
  • ผู้พัฒนาโครงการ "การผลิตสารปรับปรุงดินจากมูลฝอยชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร โดยบริษัท สมุทรสาคร เนเชอรัลคลีน เอนเนอร์จี จำกัด"

ผ่านการอบรมหลักสูตร

  • การตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบโครงการลดก๊าชเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตราฐานประเทศไทย สำหรับโครงการทั่วไป
  • การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
  • การทวนสอบคาร์บอนพุตพริ้นท์ขององค์กร
  • แนวทางการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์
    หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์

ขอบข่ายที่ทำการทวนสอบ

  • อุตสาหกรรมด้านพลังงาน (Energy industries)
  • การส่งจ่ายพลังงาน (Energy distribution)
  • ความต้องการการใช้พลังงาน (Energy demand)
  • การขนส่ง (Transport)
  • การจัดการและกาจัดของเสีย (Waste handling and disposal)
3. นาย ณัฐภาส ทีฆายุวัฒน์
  • จนท.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และ วิศวกรสิ่งแวดล้อม
  • ผู้ควบคุมคุณภาพ การแปรรูปขยะชุมชน และ ขยะอุตสาหกรรม เพื่อเป็นเชื้อเพลิง RDF
  • ที่ปรึกษาพัฒนาโครงการ "การผลิตสารปรับปรุงดินจากมูลฝอยชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร โดยบริษัท สมุทรสาครเนเชอรัลคลีน เอนเนอร์จี จำกัด"

ผ่านการอบรมหลักสูตร

  • การตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัคใจตามมาตราฐานประเทศไทย สำหรับโครงการทั่วไป
  • การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
  • การทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
  • แนวทางการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์
  • หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์

ขอบข่ายที่ทำการทวนสอบ

  • อุตสาหกรรมด้านพลังงาน (Energy industries)
  • การส่งจ่ายพลังงาน (Energy distribution)
  • ความต้องการการใช้พลังงาน (Energy demand)
  • การขนส่ง (Transport)
  • การจัดการและกาจัดของเสีย (Waste handling and disposal)
กลุ่มป่าไม้และการเกษตร (ผู้ตรวจสอบ/ทวนสอบภายนอกบริษัท)
1.ผศ.ดร.ชนิตา ปาลิยะวุฒิ
  • อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นักวิจัย และ ผู้เชี่ยวชาญด้านป่าไม้ และ พื้นที่ชุ่มน้ำ

ผ่านการอบรมหลักสูตร
  • การตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตราฐานประเทศไทย
  • สำหรับโครงการป่าไม้และการเกษตร

ขอบข่ายที่ทำการทวนสอบ

  • การปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า (Afforestation and reforestation)
  • การเกษตร (Agriculture)
2. รศ.คร. พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา
  • อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีวิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นักวิจัย และ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศน์วิทยา, นิเวศวิทยาในเมือง, ความหลากหลายของนก, ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบบูรณาการ

ผ่านการอบรมหลักสูตร

  • การตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตราฐานประเทศไทยสำหรับโครงการป่าไม้และการเกษตร
  • การจัดการคาร์บอนสาหรับผู้บริหาร โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ขอบข่ายที่ทำการทวนสอบ

  • การปลูกป่และการฟื้นฟูป่า (Afforestation and reforestation)
  • การเกษตร (Agriculture)

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การใช้เครื่องหมายรับรองโครงการ T-Ver


ผู้ที่ได้รับขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER และ ผู้ที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิต มีสิทธิใช้ เครื่องหมายโครงการ T-VER ได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้


  1. ต้องแสดงเครื่องหมายโครงการ T-VER ตามที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER หรือได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิต ที่มีตัวอักษร สี และ รูปแบบตามที่องค์การกำหนด
  2. แสดงเครื่องหมายโครงการ T-VER บนเอกสารหรือสื่อต่าง ๆ เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เฉพาะขอบเขตการดำเนินงานของตนเอง และ เฉพาะกิจกรรมที่ทำให้ได้รับสิทธิในการใช้เครื่องหมายโครงการ T-VER ทั้งนี้ ต้องไม่นำเครื่องหมายโครงการ T-VER ไปใช้หรือสื่อไปในทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ หรือ ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อองค์การ
  3. ต้องไม่แสดงเครื่องหมายโครงการ T-VER เป็นส่วนหนึ่งของชื่อทางกรค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง สัญลักษณ์ ลวดลายงานลิชสิทธิ์บนสื่อต่าง ๆ ที่ผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมาย โครงการ T-VER นำไปใช้เผยแพร่
  4. ต้องไม่นำเครื่องหมายโครงการ T-VER ไปให้บุคคลอื่นใช้ หรือให้สิทธิการใช้ หรือจำหน่ายซึ่งสิทธิต่างๆ ที่ผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายโครงการ T-VER ได้รับสิทธิจากองค์การ
  5. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นใดตามที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก) กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ


ผู้ได้รับขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ที่ถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ต้องระงับการใช้ แจกจ่ายสิ่งพิมพ์ หรือ เอกสารที่มีเครื่องหมายโครงการ T-VER รวมอยู่ด้วยทันที


หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การใช้เครื่องหมายรับรองโครงการ T-Ver


ผู้ที่ได้รับการรับรองการตรวจสอบความใช้ได้ หรือ ทวนสอบจาก บริษัทผู้รับจ้าง มีสิทธิใช้ผลการรับรองตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้


  1. อ้างอิงผลการรับรองเฉพาะในสาขาและขอบข่ายที่ได้รับการรับรองเท่านั้น
  2. ไม่นำผลการรับรองที่ได้รับไปใช้ หรือ สื่อในทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของการรับรอง หรือทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อ การรับรอง ของหน่วยรับรองฯ และ อบก.
  3. ไม่นำ ชื่อ เครื่องหมาย ตราสัญลักษฌ์ หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของตราสัญลักษฌ์ ของบริษัทผู้รับจ้างไปใช้เพื่อการประชาสำพันธ์ หรือ สื่อสารใดๆ เว้นแต่ได้รับอนุญาติอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบรัษัทผู้รับจ้าง
  4. ยุติการใช้สื่อใดๆ ที่มีการอ้างถึงการได้รับการรับรอง ใบรับรองหรือใบอนุญาต และ เครื่องหมายการรับรอง (T-Ver จาก อบก.) เมื่อมีการลดสาขาและขอบข่าย พักใช้ เพิกถอน หรือยกเลิกรับรอง ไม่ว่าด้วยสาเหตุใด
  5. ไม่นำผลการรับรองไปใช้โดยทำให้เข้าใจว่าคณะกรรมการจากอบก. หรือ คณะกรรมการรับรองจากอบก. เป็นผู้ให้การรับรองผลิตภัณฑ์หรือ บุคลากร
  6. มิให้ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับการรับรอง นำผลการรับรองไปใช้โดยนัยว่าได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการนำ เครื่องหมายการรับรอง (T-Ver จาก อบก.) ไปแสดงบนผลิตภัณฑ์ ยกเว้นในกรณีที่ได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์


หากผู้รับบริการไม่ดำเนินการตามสัญญาฉบับนี้ผู้ให้บริการขอสงวนสิทธิในการยกเลิกถ้อยแถลงการรับรองโครงการ/รายงาน ของผู้ขอรับการประเมิน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy